12 มิ.ย. ฟังความเห็นทางด่วน “กะทู้-ป่าตอง” ครั้ง 3 หลังเอกชนเมินยื่นประมูล!

“ทีมข่าวนวัตกรรมขนส่งเดลินิวส์” รายงานว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) กทพ. เมื่อวันที่ 26 พ.ค. ที่ผ่านมา เห็นชอบให้ กทพ. เปิดรับฟังความคิดเห็นภาคเอกชน สถาบันการเงิน และผู้ประกอบการ เกี่ยวกับเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน (Request for Proposal : RFP) และร่างสัญญาร่วมลงทุนโครงการทางพิเศษ (ด่วน) สายกะทู้-ป่าตอง จ.ภูเก็ต วงเงิน 1.4 หมื่นล้านบาท ครั้งที่ 3 ซึ่งเป็นการปฏิบัติตามขั้นตอนทางกฎหมาย ภายหลังจากไม่มีเอกชนรายใดมายื่นข้อเสนอในการเปิดประกวดราคา (ประมูล) เมื่อวันที่ 7 เม.ย. ที่ผ่านมา ทั้งนี้ การรับฟังความคิดเห็นดังกล่าวจะจัดขึ้นในช่วงกลางเดือน มิ.ย. 66 ทั้งแบบออนไลน์ และออนไซต์ จากนั้นจะสรุปเสนอให้คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 พิจารณาปลายเดือน มิ.ย.นี้  คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

รายงานข่าวแจ้งต่อว่า การเปิดรับฟังครั้งนี้เป็นครั้งที่ 3 นับจากแผนงานการเปิดประมูลโครงการฯ โดยครั้งที่ 1 และ 2 เป็นการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดทำ และหลังจัดทำRFPก่อนเปิดประมูลโครงการฯ ส่วนครั้งล่าสุดครั้งที่ 3 เป็นการรับฟังความคิดเห็น ซึ่งนับเป็นครั้งแรกภายหลังจากที่เปิดประมูลแล้ว และไม่มีเอกชนสนใจยื่นข้อเสนอ โดยการรับฟังครั้งนี้จะรับฟังความคิดเห็นอย่างละเอียด จากทั้งผู้ที่มา และไม่ได้มาซื้อซองRFPรวมถึงสถาบันการเงิน และผู้ประกอบการด้วย ซึ่งจะเน้นสอบถามในประเด็นว่า ยังติดใจประเด็นเรื่องอะไร มีข้อกังวลใด และการร่วมลงทุนจะมีความเสี่ยงอย่างไร

อีกทั้งต้องการให้ กทพ. ปรับเปลี่ยนรายละเอียดใดบ้างใน RFP ที่จะจูงใจให้เอกชนสนใจเข้าร่วมการคัดเลือกเอกชน อย่างไรก็ตาม การรับฟังความคิดเห็นครั้งนี้ ในรูปแบบออนไซต์ จะจัดขึ้นวันที่ 12 มิ.ย. 66 โดยช่วงเช้าเป็นเวทีสำหรับเอกชนที่มาซื้อซอง 13 ราย แต่ไม่มายื่นข้อเสนอ และช่วงบ่ายสำหรับสถาบันการเงิน ส่วนรูปแบบออนไลน์ ได้เปิดให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในส่วนอื่นๆ สามารถดาวน์โหลดเอกสารการรับฟังความคิดเห็นฯ ได้ที่ www.exat.co.th ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 11 มิ.ย. 66 และสามารถจัดส่งความคิดเห็นมาได้ผ่านทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ของ กทพ. ([email protected])  ตั้งแต่วันที่ 12-14 มิ.ย. 66 

อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ได้มีการสอบถามความคิดเห็นเบื้องต้นจากเอกชนที่ซื้อซอง RFP บางราย ถึงสาเหตุการไม่มายื่นข้อเสนอไปบ้างแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่ให้ข้อมูลว่า การลงทุนในโครงการนี้มีระยะทางที่สั้นเกินไป และยังไม่คุ้มค่าต่อการร่วมลงทุน นอกจากนี้ยังมีสาเหตุเนื่องจากสภาวะทางเศรษฐกิจที่มาจากสถานการณ์ต่างๆ อาทิ โรคระบาดโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบระยะยาว สงครามรัสเซีย-ยูเครนที่ยืดเยื้อ ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยปรับตัวสูงขึ้น ทำให้กระทบต่อต้นทุนการก่อสร้าง จากเดิมเมื่อปี 64 ประมาณการไว้ในปีที่เริ่มก่อสร้าง 8,878 ล้านบาท แต่ปัจจุบันต้นทุนการก่อสร้างเพิ่มเป็น 9.7 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณ 1,700 ล้านบาท จึงไม่จูงใจเอกชนในการตัดสินใจเข้าร่วมลงทุนโครงการฯ คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

รายงานข่าวแจ้งอีกว่า หลังจากนี้ต้องรอวิเคราะห์การรับฟังความคิดเห็นฯ จากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องอีกครั้ง หากพบว่าต้องปรับ RFP ที่เกินกรอบตามที่มติ ครม. อนุมัติ อาทิ ต้องปรับเพิ่มอัตราผลตอบแทนที่เอกชนพึงจะได้รับมากกว่า 8.5% และปรับค่าก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นจากวงเงินเดิม ก็ต้องเสนอบอร์ด กทพ. และคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอีกครั้ง ซึ่งต้องใช้เวลาอีกประมาณ 2-3 เดือน

รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า หากการปรับ RFP ไม่เกินกรอบที่มติ ครม. เคยอนุมัติไว้ ก็สามารถปรับ RFP ได้ และเปิดประมูลต่อไป อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ต้องเร่งให้ได้ข้อสรุปภายในปี 66 โดยแนวโน้ม กทพ. จะเปิดประมูลก่อสร้างงานโยธา สายกะทู้-ป่าตอง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นงานอุโมงค์ที่ต้องใช้เวลาก่อสร้างจำนวนมาก ควบคู่ไปกับการร่างเอกสารประกวดราคาจัดหาเอกชนร่วมลงทุนบริหารทางพิเศษตลอดเส้นทาง สายกะทู้-ป่าตอง และสายเมืองใหม่-เกาะแก้ว-กะทู้ และหลังจากได้ผู้ชนะประมูลแล้ว เอกชนต้องจ่ายค่าก่อสร้างงานโยธา สายกะทู้-ป่าตอง คืนให้ กทพ. ซึ่งการดำเนินการในแนวทางนี้ จะทำให้สามารถเปิดบริการได้ทันกับการจัดงานที่จังหวัดภูเก็ต เสนอตัวเป็นเจ้าภาพงาน Specialize Expo 2028 ที่จะจัดขึ้นในปี 71 

รายงานข่าวแจ้งอีกว่า สำหรับโครงการทางด่วน สายกะทู้-ป่าตอง มีระยะทางรวม 3.98กิโลเมตร (กม.) วงเงินลงทุนรวม 14,670.57 ล้านบาท ประกอบด้วย ค่าจัดกรรมสิทธิ์ 5,792.24 ล้านบาท และค่าก่อสร้าง (รวมค่าควบคุมงาน) 8,878.34 ล้านบาท ส่วนโครงการทางด่วน สายเมืองใหม่-เกาะแก้ว-กะทู้ มีระยะทาง 30 กม. วงเงินลงทุน 35,800 ล้านบาท ประกอบด้วย ค่าจัดกรรมสิทธิ์ 14,500 ล้านบาท ค่าก่อสร้าง 21,300ล้านบาท ซึ่งโครงการสายนี้เป็นเส้นทางต่อขยายเชื่อมกับสายกะทู้-ป่าตอง เมื่อเปิดให้บริการจะเป็นโครงข่ายทางเลือกในการเดินทางเชื่อมต่อระหว่างท่าอากาศยานภูเก็ต เข้าสู่แหล่งท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัดได้อย่างสะดวกสบาย.

You May Also Like

More From Author